เกี่ยวกับ สคช.

วิสัยทัศน์
“ พัฒนากำลังคนด้วยมาตรฐานอาชีพ
ให้เป็น มืออาชีพ เพื่อความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน “

พันธกิจของหน่วยงาน
1. พัฒนามาตรฐานอาชีพ
ในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและผลักดันการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานอาชีพในการพัฒนากำลังคนของประเทศ
2. พัฒนาสมรรถนะของบุคคล
ตามมาตรฐานอาชีพด้วยนวัตกรรม
3. พัฒนาระบบการเทียบโอนสมรรถนะ
ที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานสู่คุณวุฒิวิชาชีพและสู่คุณวุฒิการศึกษาเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. พัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะ
และองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพให้มีมาตรฐานในระดับสากล
5. เป็นศูนย์กลางระบบฐานข้อมูล
และสารสนเทศเกี่ยวกับมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อการพัฒนากำลังคนของประเทศทุกช่วงวัย
6. สร้างระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะ
เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย
7. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือ
กับสถานศึกษาศูนย์หรือสถาบันฝึกอบรมสถานประกอบการ และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และใช้ประโยชน์จากระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
เป้าประสงค์
1พัฒนามาตรฐานอาชีพในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับศักยภาพของกำลังคนของประเทศ
2ส่งเสริม สนับสนุน การยกระดับสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพด้วยนวัตกรรม เพื่อต่อยอดอาชีพสู่ความก้าวหน้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกระดับ
3ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกำลังคนด้วยการเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพสู่คุณวุฒิทางการศึกษาหรือในทางกลับกัน
4สนับสนุนองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพและองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรมให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และขยายการบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ
เพื่อให้ได้มาซึ่งการบูรณาการข้อมูลที่ทันสมัยและมีเสถียรภาพ รองรับการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล เข้าถึงได้ง่าย ให้บริการข้อมูลด้านกำลังคนในระดับนโยบายได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนมีกลไกในการพัฒนาสมรรถนะของบุคคลได้อย่างเป็นระบบ
6สร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ
และประชาชน ได้มีการใช้ประโยชน์จากระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการประชาสัมพันธ์
ยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2566 - 2570
ยุทธศาสตร์ที่ 1 |
ทบทวนและจัดทำมาตรฐานอาชีพในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญให้สอดรับกับบริบทและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนากำลังคนของประเทศ
⦁ แผนงาน
- จัดทำมาตรฐานอาชีพและประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อสร้างมาตรฐานอาชีพที่สอดคล้องทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ
- การพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 |
พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ
⦁ แผนงาน
- พัฒนาระบบนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริม สนับสนุน ให้หน่วยงานและประชาชนใช้มาตรฐานอาชีพเป็นเครื่องมือในการยกระดับสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
พัฒนาการเทียบโอนระบบคุณวุฒิวิชาชีพกับระบบคุณวุฒิการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เชื่อมโยงโลกการศึกษากับโลกการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
⦁ แผนงาน
- พัฒนากลไกการขับเคลื่อนเพื่อเทียบโอนระบบคุณวุฒิวิชาชีพกับระบบคุณวุฒิการศึกษาและการเทียบโอนในทางกลับกันอย่างเป็นรูปธรรม
- ผลักดันการใช้มาตรฐานอาชีพในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หลักสูตรการเรียนรู้ และหลักสูตร ฝึกอบรม เพื่อการสั่งสมผลลัพธ์การเรียนรู้ในระบบสั่งสมสมรรถนะการเรียนรู้ (Competency Credit Bank)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 |
ส่งเสริมคุณค่าในมาตรฐานอาชีพสู่ความเป็นมืออาชีพ
⦁ แผนงาน
- ยกระดับศักยภาพกำลังคนด้วยการรับรองสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ
- สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานให้กับองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม ด้วยมาตรฐานสากลเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 |
พัฒนาการดำเนินงานขององค์กรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับการให้บริการ
⦁ แผนงาน
- เพิ่มศักยภาพระบบให้บริการข้อมูลด้านกำลังคน และระบบศูนย์กลางข้อมูลคุณวุฒิวิชาชีพที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย
- พัฒนาการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 |
การสร้างการยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
⦁ แผนงาน
- นำองค์ความรู้ด้านการตลาดมาพัฒนาการดำเนินงานเพื่อสร้างการยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
- ยกระดับการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผ่านช่องทางการสื่อสารและการจัดกิจกรรม
ค่านิยมองค์กร



