ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารและกิจกรรม

เม.ย.

สคช. รุกภูเก็ต “อัปเกรดท่องเที่ยวในยุคหลังโควิด ด้วย Wellness Tourism”

28.04.2565
9,149 View
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เปิดเวทีเสวนาหัวข้อ “อัปเกรดท่องเที่ยวในยุคหลังโควิด ด้วย Wellness Tourism” เพราะการท่องเที่ยวจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ส่งสัญญาณให้สถานประกอบการ และคนในอาชีพ เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัย ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพนำไปปรับใช้ในสถานประกอบการ ยกระดับสถานประกอบการด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต รองรับการผ่อนคลายมาตรการรับนักท่องเที่ยว 1 พฤษภาคมนี้
 
นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า จากแนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 นักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ จากการมาเที่ยวเป็นกรุ๊ปทัวร์กลุ่มใหญ่ ก็จะเปลี่ยนไปเป็นแบบเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่กลับมีมูลค่าในการใช้จ่ายต่อคนสูงกว่าเดิมเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับการมาเป็นกรุ๊ปทัวร์ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวเรียนรู้ เพราะด้วยมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ อาจจะไม่เพียงพอเพื่อรองรับต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการและบุคลากรภาคการท่องเที่ยว จำเป็นต้องพัฒนา ยกระดับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่ใช้บริการได้ ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะทำหน้าที่มาเติมเต็ม ทักษะ ความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคลากร ให้ได้รับการรับรองด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ให้ได้รับการบริการ ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล
 
นายแพทย์สมพร คำผง ผู้อำนวยการบริหาร (Executive Director) GHA ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงการท่องเที่ยวในยุคหลังโควิด ว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี ไม่เพียงแต่สถานประกอบการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเป็นการเชื่อมโยงทั้งสังคม ชุมชนตั้งแต่ต้นทาง ไปจนถึงปลายทาง ซึ่งบุคลากรในห่วงโซ่ จะทำหน้าที่ส่งมอบประสบการณ์ ให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อจดจำต่อการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในทุกมิติ ทั้งนี้ GHA จะมีส่วนสำคัญให้ทุกส่วนงานของสถานประกอบการโรงแรม ที่พัก ได้เร่งพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตั้งแต่การปรับสถานที่ ตลอดจนการพัฒนาทักษะของบุคลากร
 
ดร.ภูษิต เก็จมยูร ผู้บริหาร GBAC Thailand กล่าวว่า มาตรฐาน GBAC การสร้างในด้านมาตรฐานสุขอนามัย จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเสริมทัพของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ไม่เพียงจะเกิดขึ้น แต่ในโรงแรม ที่พักเพียงอย่างเดียว แต่จะลงลึกไปถึงสถานประกอบการ อาทิ สถานศึกษา สนามบิน ฟิตเนส และร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ รวมถึงบุคลากรที่ผ่านการอบรมและให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง ด้วยมาตรฐานการรับรองระดับสากล นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในช่วงผ่อนคลายมาตรการ จะมีความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
 
นางกุสุมา กิ่งเล็ก กรรมการผู้จัดการ อ่าวนางปริ๊นซ์วิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา ซึ่งเป็นโรงแรมที่พักแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับมาตรฐาน GHA WellHotel และมาตรฐาน GBAC ได้กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด ที่ทุกคนมองเป็นวิกฤต แต่ตัวเองกลับมองว่าเป็นโอกาสในการได้พัฒนาสถานประกอบการไปสู่ Wellness ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเป็นโอกาสและความท้าทาย ในการปักหมุดในการพัฒนามาตรฐานการให้บริการ ด้วยการเติมทักษะของบุคลากรเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมขับเคลื่อนไปกับสถานประกอบการ
 
คุณวิลานี แซ่แต้ ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน ได้กล่าวถึง แนวทางการสนับสนุนเงินทุน สำหรับผู้ประกอบการว่า นอกจากโครงการสินเชื่อ สร้างงาน สร้างอาชีพ ที่ผู้ประกอบอาชีพทุกคน สามารถนำประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพและหนังสือรับรอง ไปยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารออมสิน โดยไม่ต้องใช้ Statement เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยแล้ว ก็ยังมีโครงการ Soft Loan สินเชื่อสำหรับสถานประกอบการ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร และผู้ผลิตสินค้า เพื่อนำมาฟื้นฟูกิจการ วงเงิน 5 พันล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือ สนับสนุนให้สถานประกอบการสามารถเดินหน้าต่อไปได้
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ