ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารและกิจกรรม

ส.ค.

สคช. จับมือผู้บริหาร ภาครัฐและเอกชน ดันบุคลากรในสาขาวิชาชีพแม่พิมพ์ พัฒนาศักยภาพตามความต้องการของประเทศ

15.08.2564
1,639 View

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) จัดประชุม CEO Meeting ร่วมกับผู้บริหารภาครัฐ และเอกชน ใน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 13 แห่ง เพื่อร่วมระดมความคิดเห็น ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพกำลังคน นำไปสู่การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ และให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพแก่คนในอาชีพ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดแรงงานระดับสากล

ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ระบุว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ถือเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมของประเทศและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไปเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็น การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมยางและเซรามิกส์ เป็นต้น ซึ่งบุคลากรในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง สคช.มีภารกิจ ในการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ด้วยการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เร่งพัฒนากำลังคนในอาชีพ ให้มีมาตรฐาน ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ รองรับอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมของประเทศ 

คุณวิบูล มอญบุดดา ผู้ดูแลแม่พิมพ์ บริษัท MITSUI SIAM COMPONENT กล่าวถึงความสำคัญในการส่งคนเข้าร่วมประเมินสมรรถนะ กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพว่า ทำให้รู้ถึงระดับความสามารถของผู้ที่อยู่ในอาชีพ ซึ่งบุคลากรในสาขาแม่พิมพ์ เป็นอาชีพเฉพาะทาง ที่ต้องการความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก การได้รับการการันตีจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง สคช. จะช่วยทำให้สถานประกอบการมีความมั่นใจมากขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้ยึดการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพจาก สคช. มาประกอบการพิจารณาเพื่อรับคนเข้าทำงาน รวมถึงประกอบการพิจารณาปรับเงินเดือนและการจ่ายโบนัสประจำปีของพนักงานอีกด้วย 

ด้านอาจารย์กมล นาคะสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา(อ.กรอ.อศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ยอมรับว่ามาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ของ สคช. ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ของอาชีวศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการขับเคลื่อนบุคลากรอาชีวศึกษา ให้มีคุณภาพว่า เป็นมาตรฐานอาชีพที่มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด ทั้งการสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิธีการ รายละเอียด และการออกแบบจัดทำโปรแกรม ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และสถานบันอาชีวศึกษา จึงได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งรวมไปถึงการนำมาพัฒนาผู้สอน ปรับแนวทางการจัดครุภัณฑ์และสื่อการสอนรวมไปถึง และความร่วมมือกับภาคเอกชนในการเปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงได้มากที่สุด โดยคาดหวังว่า อาชีวศึกษาจะผลิตกำลังคนได้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและมีมาตรฐานในระดับสากล 

บุคลากรในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ หนึ่งสาขาอาชีพที่ ตามแผนปฏิบัติการด้านการผลิต และพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างต้นแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีการยกระดับการเรียนการสอนทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สร้างกำลังคนคุณภาพของประเทศให้มีเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายและรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 ต่อไป

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ