ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารและกิจกรรม

มี.ค.

สคช. แท็กทีม AAT ตั้งเป้า 3 ปี ยกระดับกำลังแรงงานกว่า 2 พันชีวิตด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

23.03.2565
7,102 View
สคช. แท็กทีม AAT ตั้งเป้า 3 ปี ยกระดับกำลังแรงงานกว่า 2 พันชีวิตด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยนางสาววรชนาธิป จันทนู นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันฯ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ร่วมพูดคุยหารือแนวทางการทำงานร่วมกับ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (AAT) Auto Alliance (Thailand) Co., Ltd. นำโดยนายสถิรยุทธ แสงสุวรรณ รองประธานบริษัทฯ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล นายจักรกฤษณ์ พรหมสิทธิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคล นายชัยยุทธ์ สวัสดี ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล นายณรงค์ศักดิ์ ยางสง่า รองผู้จัดการฯ และคุณปิยพงษ์ สรรเสริญ ทีมฝ่ายทรัพยากรบุคคล AAT โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันในการเร่งเครื่อง 5 ภารกิจเร่งด่วนเพื่อสร้างการยอมรับ และคุณค่าในประโยชน์ของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี ต้องเพิ่มคุณภาพกำลังแรงงานในเครือ AAT ที่มีมากกว่า 2 พันชีวิต ได้ยกระดับให้ได้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ หรือหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าคุณวุฒิการศึกษา นำไปสู่การเพิ่มค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน รวมทั้งการยกระดับกลุ่มแรงงานที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มการผลิต ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้ประกอบอาหาร พนักงานขับรถ พนักงานต้อนรับ ให้ได้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้วย
“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดคือแรงงานในกลุ่มผลิตที่มีความเชี่ยวชาญในงาน เป็นแรงงานมีฝีมือ แต่เรียนจบได้วุฒิการศึกษาเพียง ม.6 หรือ ปวช. แต่คุณภาพ ประสิทธิภาพการทำงานเป็นที่ยอมรับในระดับหัวหน้าอยู่ในระดับคนจบปริญญา ก็สามารถเข้าสู่ระบบการประเมินเพื่อรับคุณวุฒิวิชาชีพได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาปกติ เพราะศักดิ์และสิทธิ์ที่ได้เทียบเคียงโดยกรอบคุณวุฒิแห่งชาติแล้วว่าความสามารถในการทำงานของคุณ อยู่ในระดับปริญญาตรี โท เอก” นายสุรพล กล่าว
สคช. และ AAT ยังจะร่วมกันเทียบเคียงมาตรฐานที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างดำเนินการอยู่ กำหนดเป็นกรอบมาตรฐานอาชีพที่ทุกหน่วยงานโดยเฉพาะการพัฒนาในระดับครูฝึก หรือหน่วยพัฒนาในสถานประกอบการสามารถนำไปใช้ได้เป็นมาตรฐานกลาง ในการพัฒนาภายในสถานประกอบการของตัวเองได้
อีกประเด็นสำคัญคือ การสร้างอาชีพทางเลือกสำรองเป็นอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 รองรับภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้การทำงานหารายได้จากอาชีพเดียวอาจไม่เพียงพอ นำไปสู่ภารกิจสุดท้ายคือการจัดการลูกหนี้ให้มีอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสในการปลด หรือบรรเทาหนี้สิน ซึ่ง สคช. มีพันธมิตรสถาบันการเงินที่ทำงานร่วมด้วยทั้ง ธนาคารออมสิน SME D Bank และ บสย. ที่พร้อมให้คำปรึกษา และแนวทางการบริหารจัดการสร้างรายได้เพิ่มลดหนี้ด้วย
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ